การอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การสร้างแบบจำลองสามมิติของต้นไม้ด้วย LiDAR รุ่นที่ 2
หลักการและเหตุผล
เทคโนโลยี LiDAR (Light Detection and Ranging) ได้รับการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง จนปัจจุบันถูกนำมาใช้ในหลากหลายอุตสาหกรรม รวมถึงงานด้านป่าไม้ ข้อมูลที่ได้รับจากเทคโนโลยี LiDAR สามารถนำมาสร้างข้อมูลสามมิติที่จะช่วยให้การวัดมิติต่างๆ ของวัตถุได้อย่างละเอียดมากขึ้น การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการด้าน LiDAR สำหรับการสร้างแบบจำลองสามมิติของต้นไม้มีความสำคัญในการเสริมสร้างความเข้าใจและทักษะในการใช้เทคโนโลยี LiDAR ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการวัดมิติของต้นไม้ การวางแผนการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและรวมถึงการพัฒนางานวิจัยทางด้านป่าไม้ นอกจากนี้ยังเป็นการเพิ่มพูนความรู้ในการใช้เครื่องมือและซอฟต์แวร์ที่ทันสมัย ซึ่งจะช่วยให้ผู้เข้าร่วมสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาด้านป่าไม้ได้อย่างมีประสิทธิผล
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้เข้าใจหลักการทำงานของ LiDAR และเครื่องสแกนเลเซอร์ภาคพื้นดิน
2. เพื่อให้มีความเข้าใจและทักษะในการประมวลผลข้อมูลจากเครื่องสแกนเลเซอร์ภาคพื้นดินในการสร้างแบบจำลองสามมิติของต้นไม้
เป้าหมายหลัก
หน่วยงานด้านป่าไม้ สวนป่า ผู้พัฒนาโครงการด้านป่าไม้ และผู้ที่สนใจ รวม 30 คน
ระยะเวลา วันที่ 7-8 พฤศจิกายน 2567
เนื้อหาการอบรม
1. หลักการทำงานของ LiDAR และการประยุกต์ใช้ในงานป่าไม้
2. หลักการทำงานของเครื่องสแกนเลเซอร์ภาคพื้นดิน
3. การใช้เครื่องสแกนเลเซอร์ภาคพื้นดิน และสมาร์ทโฟน (ฝึกปฏิบัติภาคสนาม)
4. การประมวลผลข้อมูลจากเครื่องสแกนเลเซอร์ภาคพื้นดิน
5. การประมวลผลข้อมูลจากแบบจำลองสามมิติของต้นไม้ด้วยโปรแกรม CloudCompare, 3D Forest และ Meshroom
สถานที่
คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
สมัครได้ที่ Link
สอบถามเพิ่มเติม ผศ.ดร.ลัดดาวรรณ เหรียญตระกูล Email: fforlwr@ku.ac.th หรือโทร. 081 3177 355